Shiny Gold Star

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

โรคซึมเศร้า


Cr https://www.youtube.com/watch?v=H5sUpGv68LE

ภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือที่รู้จักกันว่าโรคซึมเศร้า เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า แม้ความรู้สึกและอารมณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว แต่อาการของภาวะซึมเศร้านั้นมีความรุนแรงและยาวนานกว่ามากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วย



โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยมากมักเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 20-30 ปี โรคความผิดปกติทางอารมณ์ส่วนใหญ่จะเริ่มพัฒนามาจากช่วงวัยรุ่นที่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง ดังนั้น ยิ่งในช่วงวัยรุ่นประสบกับความกังวลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่มากขึ้นเท่านั้น

จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 350 ล้านคน มีความชุกราว 2-10 เปอร์เซ็นต์ และเป็นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนในไทยมีจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าเพศหญิงเป็นอันดับที่ 3 และเพศชายเป็นอันดับที่ 8 ทั้งนี้ในปี 2557 กรมสุขภาพจิตของไทยได้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงจำนวน 12 ล้านคน ในจำนวนนี้มีแนวโน้มป่วยโรคซึมเศร้า 6 ล้านคน ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้า 5 แสนคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย 6 แสนคน และคาดว่าคนไทยน่าจะมีภาวะซึมเศร้าถึงประมาณ 1.2 ล้านคน

โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง และโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดเรื้อรังเพียงโดยสังเขปด้านล่าง ส่วนบทความทั้งหมดจะเน้นไปที่โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงเท่านั้น

โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง (Major Depression) เป็นอาการซึมเศร้าอย่างที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตการทำงานหรือการเรียน รวมไปถึงการนอนหลับและการกินอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขอย่างรุนแรง

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) แม้จะมีอาการและความรุนแรงของอาการน้อยกว่า แต่ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้จะคงอยู่กับผู้ป่วยยาวนานกว่ามาก เป็นเวลาอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังก็อาจมีบางช่วงเวลาที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าชนิดรุนแรงร่วมด้วย
CR https://goo.gl/vVcKMw

อาการของโรคซึมเศร้า


ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค เพศ หรืออายุ โดยอาจมีอารมณ์เศร้า หดหู่ วิตกกังวล มีความรู้สึกว่าตนไร้ค่า โดดเดี่ยว สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะมีความรุนแรงและคงอยู่ยาวนานกว่าปกติ ทั้งยังสามารถส่งผลกระทบทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าตลอดเวลา เจ็บปวดตามร่างกาย นอนหลับยากหรือหลับมากเกินไป หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่ได้ หมดความสนใจในเรื่องที่เคยชอบ ไปจนถึงการคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองได้

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่อยู่ในสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) เมื่อสารเคมีดังกล่าวมีปริมาณน้อยลงจากเดิมก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางความคิด ซึ่งโดยรวมจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย เหงา ไม่มีชีวิตชีวา ไม่สนุกสนานกับชีวิตประจำวัน ระสับกระส่าย อยากอยู่คนเดีย นอนไม่หลับ มักสะดุ้งตื่นในกลางดึก ฝันร้ายบ่อย เหล่านี้ยังเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานที่ลดลง

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้านั้นมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของกรรมพันธุ์ ด้านพัฒนาการของจิตใจ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยประสบกับความเครียดที่แสนหนัก เจอมรสุมชีวิตที่ไม่ทันได้ตั้งตัว เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้หมดกำลังใจ ตกงาน มีปัญหาเรื่องการเงินที่หาทางออกไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด รวมทั้งพบเจอกับความสูญเสียในชีวิตที่ทำให้เสียใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพ่อแม่ในขณะที่ยังอยู่ในช่วงของวัยเด็ก สูญเสียคนรัก สูญเสียครอบครัว และยังรวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางชนิด ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการใช้สารเสพติดที่อาจทำให้สารเคมีในสมองผิดปกติ

โดยสรุปแล้วปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่น
ภาวะเจ็บป่วยที่สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิต (เช่น โรคมะเร็งหรืออาการปวดเรื้อรัง)
ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม
ชีวิตที่เครียด (เช่นปัญหาการหย่าร้างหรือขัดสนเงินทอง)
พันธุกรรม (มีความผิดปกติของอารมณ์และการฆ่าตัวตายของคนในครอบครัว)
ภาวะบาดเจ็บหรือการถูกล่วงละเมิดในวัยเด็กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวจากการสั่งการของสมองเพื่อจัดการกับความกลัวและความเครียด
โครงสร้างสมองและการใช้สารเสพติด
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นฮอร์โมนจากภาวะตั้งครรภ์หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า(Depression) มากกว่าผู้ชายถึง 70 เปอร์เซ็นต์
คนที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า มากกว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 60

ชนิดของโรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปดังนี้
1. Major Depression (โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง)

โรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อภาวะซึมเศร้ารบกวนความสุขในชีวิต การทำงาน การเรียน การนอนหลับ นิสัยการกิน และอารมณ์สุนทรีย์ ติดต่อกันอย่างน้อยสองสัปดาห์ บางคนอาจพบแค่เพียงหนึ่งอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะเกิดเป็นครั้งๆ แล้วหายไป แต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดได้บ่อยครั้ง
2. Dysthymia หรือ Persistent Depressive Disorder (โรคซึมเศร้าเรื้อรัง)

เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่อยู่ในภาวะที่รุนแรง และสามารถเป็นแบบเรื้อรัง จะมีอาการแสดงของอารมณ์ไม่รุนแรงนัก แต่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสองปี ในบางช่วงเวลาของภาวะซึมเศร้าประเภทนี้อาจมีภาวะ major depression ร่วมด้วย ซึ่งจะรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งนี้มันสามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดีได้
3. Bipolar หรือ Manic-depressive Illness (โรคซึมเศร้าอารมณ์ตก)

ผู้มีภาวะซึมเศร้าบางคนอาจมีความผิดปกติแบบอารมณ์สองขั้วร่วมด้วย (bipolar disorder) เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีอารมณ์แปรปรวนรุนแรงสลับไปมาระหว่างความคิดฟุ้งซ่านขาดสติ (Mania) และภาวะซึมเศร้า (Depression)

สำหรับบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เมื่อซึมเศร้าก็จะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการพูดมากกว่าที่เคยเป็น มีความกระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานในร่างกายที่เหลือเฟือ ในช่วงอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุนั้น จะมีผลกระทบต่อความคิดและการตัดสินใจของผู้ป่วย รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากผู้ป่วยในภาวะนี้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคจิต

ประเภทของภาวะซึมเศร้าอื่นๆ ที่ได้การยอมรับทางการแพทย์ มีดังนี้

1. Postpartum Depression (โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร)

มารดาหลังภาวะคลอดบุตรมักมีอาการซึมเศร้าที่รุนแรงและใช้เวลากลับปกตินาน ภาวะซึมเศร้าที่คุณแม่มือใหม่มักเจอหลังคลอดจะเรียกว่าแบบ "baby blues"

2. Seasonal Affective Disorder หรือ SAD (โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล)

เป็นภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว (และบางครั้งก็เกิดภาวะใบไม้ร่วง) มักเกี่ยวข้องกับภูมิอากาศที่มีแสงแดดน้อย


3. Premenstrual Dysphoric Disorder (โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน)


ซึ่งเป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังช่วงมีประจำเดือนของผู้หญิง


4. Psychotic Depression (โรคซึมเศร้าโรคจิต)

เป็นภาวะซึมเศร้ารุนแรงที่เกิดในผู้ป่วยโรคจิต(Depression) มักเกิดพร้อมอาการทางจิตเช่น เช่นเห็นภาพลวงตาและภาพหลอน

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า


แพทย์มักวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการพูดคุยสอบถามถึงอาการ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ มีความรุนแรงระดับใด โดยใช้ชุดคำถามมาตรฐานในการตรวจสอบ จากนั้นหากเข้าข่ายจะตรวจร่างกาย เช่น ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าภาวะซึมเศร้าที่สงสัยไม่ได้เป็นเกิดจากโรคอื่น ๆ เนื่องจากการรักษาที่โรคต้นเหตุจะเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าโดยตรง แล้วพิจารณาถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมในขั้นต่อไป

การรักษาโรคซึมเศร้า

1. การรักษาโดยการใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ยานั้น จะมียาหลากหลายชนิดด้วยกันที่เลือกใช้รักษา ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดที่ทำให้ง่วงและไม่ทำให้ง่วง สำหรับยาที่ใช้ในการแก้โรคซึมเศร้าจะไม่ทำให้เกิดการเสพติดแต่อย่างใด นั่นแสดงว่าผู้ป่วยสามารถหยุดรับประทานยาได้เมื่ออาการเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในส่วนของยาแก้โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้ออกฤทธิ์เพียงเพื่อช่วยลดความกังวลเท่านั้น แต่มันจะทำให้อารมณ์ของคุณหายจากอาการเศร้าได้จริงๆ ทั้งนี้ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องทานยาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะสามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหรือมีอารมณ์ที่แจ่มใสขึ้น และสำหรับการใช้ยานั้นมักจะต้องใช้เวลานานถึง 4-6 สัปดาห์ยาจึงจะออกฤทธิ์และแสดงผลลัพธ์ได้อย่างเต็มที่

ยารักษาภาวะซึมเศร้า (Depression Medications)
ตามอ้างอิงของ The National Alliance on Mental Illness (NAMI)

1. SSRIs (Selective serotonin reuptake)
➤เป็นยาลดอาการซึมเศร้า(antidepressants)ที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้า(Depression)โดยทำให้มีสารสื่อประสาท serotonin ในสมองมากขึ้น
➤SSRIs ที่ใช้กันมากที่สุด คือ
Prozac (fluoxetine)
Zoloft (sertraline)
Lexapro (escitalopram)
Paxil (paroxetine)
Celexa (citalopram)
➤ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของ SSRIs ได้แก่
ความผิดปกติทางเพศ
ปัญหาทางเดินอาหารเช่นคลื่นไส้ท้องผูกและท้องร่วง
ปากแห้ง
นอนไม่หลับ
ปวดหัว
ความวิตกกังวลหรือความกระวนกระวายใจ
น้ำหนักมากขึ้น
เหงื่อออก

2. Serotonin and Norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
➤เป็นกลุ่มยาลดอาการซึมเศร้า(antidepressants)ที่นิยมใช้รองลงมา serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) จะยับยั้งการดูดซึมกลับของ serotonin และ norepinephrine ทำให้มีปริมาณสารสองตัวนี้มากขึ้นในสมอง
➤ตัวอย่างยากลุ่มSNRIs เช่น:
Effexor (venlafaxine)
Pristiq (desvenlafaxine)
Cymbalta (duloxetine)
Fetzima (levomilnacipran)
Savella (milnacipran) เป็น SNRI แต่ใช้เพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง(fibromyalgia) แทนภาวะซึมเศร้า(Depression)
ยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับยา SSRIs รวมทั้งความเมื่อยล้าและอาการปัสสาวะขัด

3. Norepinephrine-dopamine reuptake inhibitor (NDRI)
➤ยานี้จะยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาท(neurotransmitter)สองตัวคือdopamine และ norepinephrine ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ คือ Wellbutrin (bupropion) Wellbutrin มีผลข้างเคียงที่คล้ายคลึงกับยา SSRIs และ SNRIs แต่จะทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศน้อยกว่า แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการชัก

4. Tricyclics
➤Tricyclic antidepressants (tricyclics หรือ TCAs) เป็นยาที่ใช้กันมานานทำงานโดยการยับยั้งการดูดซึมกลับของ serotonin และ norepinephrine โดยกลไกที่แตกต่างจาก SNRIs ยากลุ่มนี้มีการใช้น้อยลงเพราะก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากและร้ายแรง จะใช้ยากลุ่มนี้เมื่อใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล
➤ตัวอย่างของสาร tricyclics ได้แก่ :
Elavil (amitriptyline)
Norpramin (desipramine)
Sinequan (doxepin)
Tofranil (imipramine)
Pamelor (nortriptyline)
Avantyl (nortriptyline)
Vivactil (protriptyline)
➤ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงบางอย่างของสาร tricyclics ได้แก่ :
มองเห็นภาพซ้อน
หัวใจเต้นผิดปกติ
อาการสั่น
ความคิดสับสนในผู้สูงอายุ
อาการชัก

5. MAOIs
➤monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) สามารถยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase ซึ่งหยุดการทำงานของสารสื่อประสาทต่างๆรวมถึง serotonin และ norepinephrine ในสมอง
➤ตัวอย่างของ MAOIs ได้แก่ :
Nardil (phenelzine)
Marplan (isocarboxazid)
Parnate (tranylcypromine sulfate)
Emsam (selegiline) เป็นยาที่พัฒนาล่าสุด ชนิดแผ่นแปะ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายา MAOI อื่น ๆ
เช่นเดียวกับยากลุ่ม tricyclics ยากลุ่มMAOIs มีการใช้น้อยลงเนื่องจากผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับสารอื่นค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่นถ้าคุณกินอาหารที่มีสารประกอบ tyramineจำนวนมาก(พบในชีส ผักดอง และไวน์แดง) พร้อมกับยากลุ่ม MAOI จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นอาจเกิดความดันโลหิตสูงรุนแรงที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบ(stroke)
➤อาจพบความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงหากคุณใช้ยากลุ่ม MAOI ร่วมกับยาเหล่านี้:
ยาคุมกำเนิด
ยาแก้ปวดบางชนิด
ยารักษาภูมิแพ้และหวัด
สมุนไพรบางชนิด
➤การใช้ MAOI ร่วมกับ SSRI อาจทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่น serotonin syndrome

***เพิ่มเติม : Serotonin syndrome เกิดจากการงานของระบบ serotonin ในระบบประสาทส่วนกลางทำงานมากผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติทั้ง mental status, ระบบ neuromuscular, ระบบ autonomic ที่ทำงานผิดปกติไป***

6. ยาอื่น ๆ
ยาอื่น ๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มข้างต้นที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า(Depression) ได้แก่
Trazadone
Nefazodone
Remeron (mirtazapine)
Abilify (aripiprazole)
Seroquel (quetiapine
Viibryd (vilazodone)
Brintellix (vortioxetine)

2. การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยานั้นทำได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดเพื่อพิชิตความเศร้า และรวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น นั่นก็คือ ผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้ามักจะมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งก็เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ภาวะซึมเศร้านั้นอยู่กับตัวผู้ป่วยนาน ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดอารมณ์เศร้าจึงควรบอกและค่อยๆ พูดกับผู้ป่วยให้หยุดเศร้าสักประเดี๋ยว แล้วให้ย้อนกลับไปคิดว่าเมื่อสักครู่เกิดอะไรขึ้น เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นแน่นอนว่าจะมีความคิดอะไรบางอย่างแว็บเข้ามาในสมอง จากนั้นให้ลองพิจารณาดูว่าความคิดนั้นถูกต้องแค่ไหน หากคิดว่าไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ อารมณ์จะดีขึ้นทันที อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ป่วยมองโลกในแง่ดีจนกว่าจะเผลอไปคิดในแง่ร้ายอีกครั้ง

1. จิตบำบัดสำหรับโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้านั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆปัจจัยมารวมกัน การใช้จิตบำบัดหรือการบำบัดด้วยการพูดคุยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับปัจจัยด้านจิตใจ พฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และปัจจัยภาวะแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า และการใช้จิตบำบัดนี้ยังช่วยแยกแยะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ด้วย โดยโรคซึมเศร้าต่างรูปแบบกันก็มีเป้าหมายการรักษาที่ต่างกันและมีวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยต่างกัน เช่น
หาปัญหาชีวิตต่างๆที่ส่งผลต่อโรคซึมเศร้าหรือทำให้โรคซึมเศร้าแย่ลง
หาความคิดหรือความเชื่อในทางลบหรือผิดจากความเป็นจริงที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่ซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง และความรู้สึกที่หมดหนทาง
สร้างความสามารถที่จะรับมือกับความเครียดและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
หาความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่จะพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน
สร้างเป้าหมายชีวิตที่เป็นไปได้และวางแผนการดูแลตนเอง
สร้างความพึงพอใจและการควบคุมวิถีชีวิต
เข้าใจเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในอดีต

จิตบำบัดสองรูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือพฤติกรรมและปัญญาบำบัด(cognitive behavioral therapy)หรือซีบีที(CBT) และปฏิสัมพันธ์บำบัด(interpersonal therapy) โดยพฤติกรรมปัญญาบำบัดนั้นพยายามที่จะช่วยให้ผู้ที่ซึมเศร้าค้นพบความคิดและความเชื่อในทางลบหรือไม่ดีต่อสุขภาพและเปลี่ยนความคิดและความเชื่อเหล่านั้นเป็นในทางบวกซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดความเจ็บป่วยทางจิตใจได้หลายประเภท ผู้ที่เข้าร่วมจิตบำบัดมักจะมีการบ้านให้กลับไปทำโดยให้บันทึกความคิดด้านลบที่เกิดขึ้นกับสิ่งต่างๆ

ส่วนปฏิสัมพันธ์บำบัดจะเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ของบุคคล แยกแยะปัญหาของความสัมพันธ์นั้น และพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ค้นพบรูปแบบทางสังคมในเชิงลบของตนเอง เช่น การแยกตัวจากสังคมและความก้าวร้าว และช่วยพัฒนาวิธีในการโต้ตอบกับคนอื่นได้ดีขึ้น

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ(National Institute of Mental Health)ระบุว่าจิตบำบัดเพียงอย่างเดียวอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก

2. การบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้าสำหรับโรคซึมเศร้า

ถ้าจิตบำบัดและยาใช้ไม่ได้ผล จิตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยการกระตุ้นสมอง การบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้า(electroconvulsive therapy)หรืออีซีที(ECT)มีใช้มานานมากแล้วโดยใช้ครั้งแรกในปี 1940 ซึ่งการบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้านั้นจะใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยผ่านสมองขณะที่ดมยาสลบอยู่ การรักษานี้จะทำให้ชักช่วงสั้นๆซึ่งควบคุมได้โดยส่งผลต่อเซลล์ประสาทและสารเคมีในสมอง ตามข้อมูลจากเครือข่ายความเจ็บป่วยทางจิตใจแห่งชาติ(National Alliance on Mental Illness)คนส่วนใหญ่จะต้องรักษาสี่ถึงหกครั้งก่อนจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การช็อตไฟฟ้านี้จะมีผลข้างเคียงชั่วคราวได้แก่ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ สับสน และความจำเสื่อม

3. การกระตุ้มสมองด้วยแม่เหล็กสำหรับโรคซึมเศร้า


แทนที่จะใช้กระแสไฟฟ้า การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็ก(transcranial magnetic stimulation)หรือทีเอ็มเอส(TMS)จะใช้สนามแม่เหล็กกระตุ้นเซลล์ประสาทและช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า การรักษานี้ไม่ต้องใช้ยาดมสลบและเน้นไปที่บริเวณของสมองที่เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ ผลข้างเคียงจากการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กนั้นได้แก่ กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก ปวดหัวหรือเวียนหัว และชัก(ถ้าเคยชักมาก่อน)

4. การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส (vagus nerve) สำหรับโรคซึมเศร้า

สำหรับโรคซึมเศร้าเรื้อรังหรือโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการบำบัดด้วยการช็อตไฟฟ้าหรือการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กนั้น การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส(vagus nerve stimulation)หรือวีเอ็นเอส(VNS)ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง การรักษาวิธีนี้จะใช้อุปกรณ์ฝังเข้าไปเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทวากัสด้วยสัญญาณไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปส่วนของสมองที่ควบคุมอารมณ์และการนอนหลับตลอดทั้งวันซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สร้างจังหวะให้กับสมอง ผลข้างเคียงเฉพาะที่ของการรักษาด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทวากัสเช่นปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก(กลารกลืน ความปวด และการไอ) ปวดคอ และปัญหาการหายใจระหว่างออกกำลังกาย

5. ธรรมชาติบำบัดสำหรับโรคซึมเศร้า

มีการใช้ธรรมชาติบำบัดหลายวิธีเช่นเดียวกับการรักษาทางเลือกหรือการรักษาเสริมซึ่งอาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้าเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น(รวมถึงการใช้ยา) การรักษาเหล่านี้ได้แก่
ออกกำลังกายซึ่งช่วยหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นอารมณ์
โยคะ การทำสมาธิ และการฝึกจิตอื่นๆช่วยลดความเครียดและบรรเทาอารมณ์เชิงลบได้
การยวดช่วยลดฮอร์โมนความเครียดและเพิ่มสารสื่อประสาทที่ช่วยให้อารมณ์คงที่
การฝังเข็มอาจส่งผลดีต่อสารสื่อประสาท

อาหารเสริมบางชนิด เช่น โฟเลต (folate)เอสเอ็มอี (SAMe) หรือเอส-อะดีโนซิล-เอล-เมทไธโอนีน (S-Adenosyl-L-Methionine) และหญ้าเซนต์จอห์นเวิร์ธ (St. John's wort) อาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ผลในการรักษา

การป้องกันโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่นอน เนื่องจากสาเหตุอาจเกิดจากโรคบางประการ เช่น ความผิดปกติในสมอง อาการเจ็บป่วย หรือการใช้ยาที่เกิดภาวะซึมเศร้าแทรกซ้อนได้ ถือว่าเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม แต่การสร้างพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีด้วยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย การรักษาสภาวะอารมณ์ให้แจ่มใสด้วยการทำกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลาย นับเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าได้


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 4 ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560

https://goo.gl/tdodfA

"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร"


     พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ
ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

"8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์"

     เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)


     หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ค่ะ
➤บทลงโทษ
เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

     ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ

➤บทลงโทษ 
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
💓แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท


3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

     ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ
➤บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
💓การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี ควรนึกถึงจิตใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญค่ะ หากอยากส่งอีเมล ก็ควรที่จะถามความยินยอมจากลูกค้าก่อนว่าเขาต้องการรับข่าวสารจากเราไหม หรือไม่ก็หันมาทำคอนเทนต์ดีๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาคุณได้ด้วยความเต็มใจค่ะหรือหากอยากทราบเทคนิคการขายบนโลกออนไลน์ที่แตกต่างและได้ผล

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)



     โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
➤บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

➤กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย 
➤กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14) 

     ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )
➤บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)

กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
➤บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
💓ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
➤บทลงโทษ 
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท


"สรุป"

    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย

Cr.https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ&t=64s

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 ความรู้เรื่อง Blog

➧Blog คืออะไร







- บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger)
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

➧Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่
- เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
- ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing



➧ข้อดีและข้อเสียของ Blog

ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
- ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก


ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

ขั้นตอนการสร้างบล็อก

1. ให้ทําการสมัครบัญชีของ Gmail ของ google แต่ถ้าใครมีบัญชี Gmail อยูแล้วก็ทําการล็อกอินเพื่อสร้าง บล็อก ของ http://www.blogger.com/ ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าไปที่เว็บ www.blogger.com หน้า เพจแรกจะถามบัญชีถึงบัญชีGmail ของผู้ที่จะทําการสร้างบล็อกสําหรับนักศึกษาที่มีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็กรอกชื่อบัญชี Gmail และ รหัสผานของตน ดังภาพ




หากใครยังไม่มีบัญชีให้คลิกที่เมนู Sign up เพื่อทําการสมัครบัญชี Gmail ใหม่



2. เมื่อเราเข้าไปที่www.blogger.com ที่ได้ทําการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ blogger จะมีหน้าตาดังภาพ คลิกไปที่เมนู“บล็อกใหม่” เพื่อทําการสร้างบล็อก



3. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว ให้ทําการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อ บล็อก ตรงที่อยู ให้ตั้งชื่อ URL ซึ่งควรใช้ชื่อเป็ นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อก ด้วยวาชื่อ ่ URL ที่ตั้ งไปนั้ นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้ มันจะแจ้งวา ่ “ที่อยูบล็อกนี ่ ้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้ว ให้ทําการเลือกรูปแบบ จากแม่แบบวาจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู “สร้างบล็อก”



4. เมื่อทําการสร้างบล็อกแล้ว เราจะกลับมาที่หน้าจัดการบล็อกเพื่อทําการตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงามโดยการ ใส่รูปภาพหรือ โค๊ดต่างๆ ให้นักศึกษาทําการคลิกลูกศรสีดํา เพื่อเลือกเมนูรูปแบบ ดังภาพ



5. เมื่อคลิกเมนูรูปแบบ แล้วจะมีหน้าตาดังภาพให้คลิกที่ เมนูเครื่องมือออกแบบเทมเพลต เพื่อปรับแต่งหน้า เทมเพลตตามที่เราต้องการ




เมื่อคลิกแล้วทําการเลือกรูปเทมเพลต ตามต้องการ เมื่อเลือกแล้วให้คลิกที่ เมนู“ใช้กับบล็อก” เพื่อบันทึก รูปแบบเทมเพลต



6. เมื่อทําการเลือกรูปแบบของเทมเพลตแล้วให้กลับมาที่“รูปแบบ”อีกครั้ง เพื่อทําการใส่หัวบล็อกและ ตกแต่งบล็อกโดยคลิกเลือกเมนูแก้ไข ตรงส่วนของ ชื่อบล็อก



เมื่อคลิกเมนูแก้ไข แล้วให้คลิกที่ เมนู“เลือกไฟล์” เพื่อเลือกไฟล์ภาพที่จะนํามาเป็นหัวบล็อกเมื่อเลือกภาพ ได้แล้วกด open จากนั้นระบบจะทําการอัพโหลดภาพดังกล่าวเข้าไป เมื่อระบบอัพโหลดภาพเสร็จแล้ว ให้คลิกเลือกเมนู “แทนที่ชื่อและคําอธิบาย” เสร็จแล้วกดเมนู“บันทึก” เพื่อทําการบันทึกภาพดังกล่าวซึ่งจะเข้า ไปอยูในตําแหน่งหัวบล็อกดังภาพ



7. เมื่อทําการใส่หัวบล็อกเสร็จแล้ว ให้คลิกที่เมนู“เพิ่ม Gadget” เพื่อใส่โค๊ด ปฏิทิน นาฬิกา สถิติผู้เยี่ยมชม แล้วแต่ความต้องการของเรา แล้วคลิกเมนู“บันทึกการจัดเรียง”






8. เมื่อทําการใส่โค๊ดตกแต่งตามต้องการแล้ว ให้เลือกเมนู“หน้าเว็บ” เพื่อทําการสร้างหน้าเว็บเพจต่างๆ ตาม ต้องการคลิกที่เมนู “แสดงหน้าเว็บเป็น” เลือกลูกศรสีดํา แล้วคลิกเลือกรูปแบบ “แท็บด้านบนสุด” แล้วกด“บันทึกการจัดเรียง” ดังภาพ






เมื่อทําการเลือกตําแหน่งของแท๊บเมนูแล้ว ให้ คลิกเมนู หน้าเว็บใหม่และเลือกลูกศรสีดํา เลือกเมนู “หน้าเว็บ เปล่า” เพื่อสร้างหน้าเพจต่างๆ







8. เมื่อคลิกเมนูสร้างหน้าเว็บแล้ว ให้ตั้ งชื่อเว็บเพจ ตรงช่อง และพิมพ์รายละเอียดลงไป แล้วคลิกที่เมนู “บันทึก”







9. เมื่อทําการสร้างเมนูเว็บเพจ แล้ว ท่านสามารถที่จะทําลิงค์ไปเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ โดยคลิกที่เมนู เพิ่ ม “Gadget” แล้วเลือก ฟังกชัน ์ “รายชื่อลิงค์” แล้วคลิกเครื่องหมาย + เพื่อสร้างลิงค์ ดังภาพ





เมื่อคลิกที่ฟังชันก รายชื่อลิงค์แล้ว ให้ทําการ พิมพ์ชื่อเมนู ว่า“ Link Exchange” และ copy ลิงค์ ที่ต้องการ เชื่อมโยงของเพื่อนมาใส่ไว้ในช่อง URL ของไซต์ใหม่และ ตรงชื่อเว็บไซต์ให้ พิมพ์ชื่อ ของเว็บบั้นๆ ที่ ต้องการทําลิงค์ เมื่อทําเสร็จ ให้คลิกที่ เมนู “เพิ่มลิงค์” เพื่อทําการเพิ่มลิงค์เว็บไซต์อื่นๆต่อไปแล้วคลิกที่เมนู “บันทึก” ดังภาพ




เมื่อเราทําการสร้างลิงค์เสร็จ เมื่อกดบันทึกจะมีหน้าตาดังภาพ ซึ่งในกรณีที่เราต้องการเพิ่มลิงค์ต่อให้คลิกที่ เครื่องมือ “แก้ไข ” ดังภาพ






เราสามารถทําการเคลื่อนย้ายตําแหน่ง โดยการคลิกลากมาไว้ในตําแหน่งที่เราต้องการได้



เราสามารถปรับเปลี่ยนความกว้างในการแสดงผลหน้าจอได้ โดยคลิกไปที่เครื่องมือเครื่องมือออกแบบเทม เพลต แล้วเลือก“ปรับความกว้าง” ดังภาพ



10. ในการสร้างบทความ ให้คลิกไปที่เมนู“บทความใหม่” ดังภาพ



11. เมื่อคลิกเมนูสร้างบทความใหม่แล้ว ให้นักศึกษา ทําการแทรกภาพ โดยการคลิกที่ไอคอน แทรกรูปภาพ คลิกที่เมนูเลือกไฟล์และทําการเลือกรูปภาพ แล้วกด open ดังรูป




ระบบจะทําการอัพโหลดไฟล์รูปดังกล่าว เมื่ออัพโหลดเสร็จแล้ว ให้คลิกที่“เพิ่มรายการที่เลือก”




เมื่อทําการเลือกภาพแล้ว ภาพดังกล่าวจะเข้ามาอยูในแบบร ่ ่างบทความ ดังรูป เสร็จแล้วพิมพ์รายละเอียดลง ไปแล้วคลิก เมนู เพื่อทําการ“บันทึก” บทความความ และเผยแพร่ บทความ



เมื่อกดบันทึกแล้ว จะเข้ามาสู่หน้าจอ รายการที่แสดงถึงบทความที่เราสร้างขึ้นเมื่อครู่ ถ้าหากเราต้องการ สร้างบทความเพิ่ม ให้คลิกที่เมนูสร้างบทความใหม่



ถ้าในบทความของเรา ต้องการเผยแพร่ผลงานวีดิโอจาก Youtube ให้เราคลิกที่ไอคอน แทรกวีดิโอ



ทําการเลือกวีดิโอจาก Youtube ซึ่งถ้าในกรณีที่เรามีคลิปในบัญชียูทูบของเราอยู่แล้ว ให้คลิกเลือกเมนู วีดิโอ  Youtube ของฉัน แต่ถ้าเราจะเอาคลิป Youtube จากแหล่งบัญชีอื่น ให้คลิกเมนูจาก Youtube แล้วเสริ์ชหาเอา นะคะ



เมื่อทําการแทรกวีดิโอจาก Youtube แล้ว วีดิโอ ดังกล่าวจะเข้ามาอยูในแบบร่างบทความ ดังรูป



เสร็จแล้วทําการ กดบันทึก และ คลิกไปที่ เมนู แสดงตัวอยาง ก็จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ



เพียงขั้นตอนง่ายแค่นี้เราก็จะได้บล็อกส่วนไว้ใช้แล้วค่ะ ^^


blogger Part 1 เริ่มต้น


https://www.youtube.com/watch?v=h_nfYu3lz_g


blogger Part 2 การใส่ Template



https://www.youtube.com/watch?v=1Fy1Nudvhfc



blogger Part 3 เพิ่ม Facebook Page Plugin


https://www.youtube.com/watch?v=IhjkUuTSzyY


Blogger Part 4 การใช้งานเทมเพลตของบล็อกเกอร์

https://www.youtube.com/watch?v=00xC0SitN-s



blogger Part 5 การจัดการบทความ เพิ่มลิงค์เพิ่มปุ่ม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


https://www.youtube.com/watch?v=bicfcxi-bDU


blogger Part 6 วิธีใส่ภาพ favicon เปลี่ยนภาพ title ให้กับ Blogger


https://www.youtube.com/watch?v=ebtdbFXf33g






วิธีการใช้ Blog from Roongrusamee Sonjai
https://www.slideshare.net/roongrusameesonjai/blog-13516733 

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

My first blog

MY PROFILE

About Me


นางสาวอรทัย   ทองตัน ชื่อเล่น บอมแบม
กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 39
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
เกิดเมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2544
สีที่ชอบ:  Red, Black,Gray
อาหารที่ชอบ: ก๋วยเตี๋ยว,ติ่มซำ,ต้มยำกุ้ง
ของหวานที่ชอบ: ชาเขียว,เค้กนมสด,บราวนี่,ไอติมรสกะทิ
กีฬาที่ชอบ:แบดมินตัน,วอลเลย์บอล,หมากรุก
งานอดิเรก: วาดรูป,อ่านหน้งสือ

My Favourite writer


Rick Riordan
Credit: http://literaryanalysis423d.weebly.com/uploads/1/1/7/7/11778711/7964362.gif


JittiRain
credit: https://pbs.twimg.com/media/DIN_GY8UwAEs3qf.jpg


💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬

MY FAMILY



💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬

MY FRIEND & MY BUDDY




นางสาวทอรุ้ง   บุญนะ ติดต่อ 095-696-5857
นางสาวยวิษฐา   ต.เจริญ ติดต่อ 097-920-3307
นางสาววริษฐา   ต.เจริญ ติดต่อ 094-8300530
นางสาวจารวี   จี๋จันทร์ ติดต่อ 081-163-3573


💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬


MY FAVOURITE PICTURE


Credit: https://goo.gl/JwS7Rw
Photographer: Tim Lampe
 ชอบรูปนี้เพราะว่ารูปนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพึงพอใจ ช่างภาพต้องการให้เราได้สัมผัสบางสิ่งบางอย่างที่ภาพของเขาสื่อออกมา ชอบวิธีถ่ายทอดแนวคิดของคนถ่ายรูปนี้


💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬

CLIP ที่ชอบ


คลิปนี้เป็นคลิปที่เตนล์ตั้งชื่อม้าก้านกล้วยว่า ชิตตาพรือ ดูแล้วตลกมากๆ

My Favourite Song

The Only One

Demons

See Scape

Gloomy Sunday


รายการโทรทัศน์ที่ชอบ

Real Kids Story Rainbow
Credit : https://www.youtube.com/watch?v=H3rIBwgtmc8


💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬💬


  มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน



คณะสถาปัตยกรรม จุฬา
Credit:https://www.admissionpremium.com/arch/news/3464


คณะบัญชี จุฬา
Credit: https://campus.campus-star.com/view/1427.html