Shiny Gold Star

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 4 ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560

https://goo.gl/tdodfA

"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร"


     พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ
ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

"8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์"

     เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)


     หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ค่ะ
➤บทลงโทษ
เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

     ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ

➤บทลงโทษ 
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
💓แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท


3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

     ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ
➤บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
💓การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี ควรนึกถึงจิตใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญค่ะ หากอยากส่งอีเมล ก็ควรที่จะถามความยินยอมจากลูกค้าก่อนว่าเขาต้องการรับข่าวสารจากเราไหม หรือไม่ก็หันมาทำคอนเทนต์ดีๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาคุณได้ด้วยความเต็มใจค่ะหรือหากอยากทราบเทคนิคการขายบนโลกออนไลน์ที่แตกต่างและได้ผล

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)



     โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
➤บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

➤กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย 
➤กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14) 

     ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )
➤บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)

กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
➤บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
💓ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
➤บทลงโทษ 
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท


"สรุป"

    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย

Cr.https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ&t=64s

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 ความรู้เรื่อง Blog

➧Blog คืออะไร







- บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger)
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

➧Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่
- เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
- ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing



➧ข้อดีและข้อเสียของ Blog

ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
- ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก


ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

ขั้นตอนการสร้างบล็อก

1. ให้ทําการสมัครบัญชีของ Gmail ของ google แต่ถ้าใครมีบัญชี Gmail อยูแล้วก็ทําการล็อกอินเพื่อสร้าง บล็อก ของ http://www.blogger.com/ ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าไปที่เว็บ www.blogger.com หน้า เพจแรกจะถามบัญชีถึงบัญชีGmail ของผู้ที่จะทําการสร้างบล็อกสําหรับนักศึกษาที่มีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็กรอกชื่อบัญชี Gmail และ รหัสผานของตน ดังภาพ




หากใครยังไม่มีบัญชีให้คลิกที่เมนู Sign up เพื่อทําการสมัครบัญชี Gmail ใหม่



2. เมื่อเราเข้าไปที่www.blogger.com ที่ได้ทําการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ blogger จะมีหน้าตาดังภาพ คลิกไปที่เมนู“บล็อกใหม่” เพื่อทําการสร้างบล็อก



3. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว ให้ทําการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อ บล็อก ตรงที่อยู ให้ตั้งชื่อ URL ซึ่งควรใช้ชื่อเป็ นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อก ด้วยวาชื่อ ่ URL ที่ตั้ งไปนั้ นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้ มันจะแจ้งวา ่ “ที่อยูบล็อกนี ่ ้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้ว ให้ทําการเลือกรูปแบบ จากแม่แบบวาจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู “สร้างบล็อก”



4. เมื่อทําการสร้างบล็อกแล้ว เราจะกลับมาที่หน้าจัดการบล็อกเพื่อทําการตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงามโดยการ ใส่รูปภาพหรือ โค๊ดต่างๆ ให้นักศึกษาทําการคลิกลูกศรสีดํา เพื่อเลือกเมนูรูปแบบ ดังภาพ



5. เมื่อคลิกเมนูรูปแบบ แล้วจะมีหน้าตาดังภาพให้คลิกที่ เมนูเครื่องมือออกแบบเทมเพลต เพื่อปรับแต่งหน้า เทมเพลตตามที่เราต้องการ




เมื่อคลิกแล้วทําการเลือกรูปเทมเพลต ตามต้องการ เมื่อเลือกแล้วให้คลิกที่ เมนู“ใช้กับบล็อก” เพื่อบันทึก รูปแบบเทมเพลต



6. เมื่อทําการเลือกรูปแบบของเทมเพลตแล้วให้กลับมาที่“รูปแบบ”อีกครั้ง เพื่อทําการใส่หัวบล็อกและ ตกแต่งบล็อกโดยคลิกเลือกเมนูแก้ไข ตรงส่วนของ ชื่อบล็อก



เมื่อคลิกเมนูแก้ไข แล้วให้คลิกที่ เมนู“เลือกไฟล์” เพื่อเลือกไฟล์ภาพที่จะนํามาเป็นหัวบล็อกเมื่อเลือกภาพ ได้แล้วกด open จากนั้นระบบจะทําการอัพโหลดภาพดังกล่าวเข้าไป เมื่อระบบอัพโหลดภาพเสร็จแล้ว ให้คลิกเลือกเมนู “แทนที่ชื่อและคําอธิบาย” เสร็จแล้วกดเมนู“บันทึก” เพื่อทําการบันทึกภาพดังกล่าวซึ่งจะเข้า ไปอยูในตําแหน่งหัวบล็อกดังภาพ



7. เมื่อทําการใส่หัวบล็อกเสร็จแล้ว ให้คลิกที่เมนู“เพิ่ม Gadget” เพื่อใส่โค๊ด ปฏิทิน นาฬิกา สถิติผู้เยี่ยมชม แล้วแต่ความต้องการของเรา แล้วคลิกเมนู“บันทึกการจัดเรียง”






8. เมื่อทําการใส่โค๊ดตกแต่งตามต้องการแล้ว ให้เลือกเมนู“หน้าเว็บ” เพื่อทําการสร้างหน้าเว็บเพจต่างๆ ตาม ต้องการคลิกที่เมนู “แสดงหน้าเว็บเป็น” เลือกลูกศรสีดํา แล้วคลิกเลือกรูปแบบ “แท็บด้านบนสุด” แล้วกด“บันทึกการจัดเรียง” ดังภาพ






เมื่อทําการเลือกตําแหน่งของแท๊บเมนูแล้ว ให้ คลิกเมนู หน้าเว็บใหม่และเลือกลูกศรสีดํา เลือกเมนู “หน้าเว็บ เปล่า” เพื่อสร้างหน้าเพจต่างๆ







8. เมื่อคลิกเมนูสร้างหน้าเว็บแล้ว ให้ตั้ งชื่อเว็บเพจ ตรงช่อง และพิมพ์รายละเอียดลงไป แล้วคลิกที่เมนู “บันทึก”







9. เมื่อทําการสร้างเมนูเว็บเพจ แล้ว ท่านสามารถที่จะทําลิงค์ไปเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ โดยคลิกที่เมนู เพิ่ ม “Gadget” แล้วเลือก ฟังกชัน ์ “รายชื่อลิงค์” แล้วคลิกเครื่องหมาย + เพื่อสร้างลิงค์ ดังภาพ





เมื่อคลิกที่ฟังชันก รายชื่อลิงค์แล้ว ให้ทําการ พิมพ์ชื่อเมนู ว่า“ Link Exchange” และ copy ลิงค์ ที่ต้องการ เชื่อมโยงของเพื่อนมาใส่ไว้ในช่อง URL ของไซต์ใหม่และ ตรงชื่อเว็บไซต์ให้ พิมพ์ชื่อ ของเว็บบั้นๆ ที่ ต้องการทําลิงค์ เมื่อทําเสร็จ ให้คลิกที่ เมนู “เพิ่มลิงค์” เพื่อทําการเพิ่มลิงค์เว็บไซต์อื่นๆต่อไปแล้วคลิกที่เมนู “บันทึก” ดังภาพ




เมื่อเราทําการสร้างลิงค์เสร็จ เมื่อกดบันทึกจะมีหน้าตาดังภาพ ซึ่งในกรณีที่เราต้องการเพิ่มลิงค์ต่อให้คลิกที่ เครื่องมือ “แก้ไข ” ดังภาพ






เราสามารถทําการเคลื่อนย้ายตําแหน่ง โดยการคลิกลากมาไว้ในตําแหน่งที่เราต้องการได้



เราสามารถปรับเปลี่ยนความกว้างในการแสดงผลหน้าจอได้ โดยคลิกไปที่เครื่องมือเครื่องมือออกแบบเทม เพลต แล้วเลือก“ปรับความกว้าง” ดังภาพ



10. ในการสร้างบทความ ให้คลิกไปที่เมนู“บทความใหม่” ดังภาพ



11. เมื่อคลิกเมนูสร้างบทความใหม่แล้ว ให้นักศึกษา ทําการแทรกภาพ โดยการคลิกที่ไอคอน แทรกรูปภาพ คลิกที่เมนูเลือกไฟล์และทําการเลือกรูปภาพ แล้วกด open ดังรูป




ระบบจะทําการอัพโหลดไฟล์รูปดังกล่าว เมื่ออัพโหลดเสร็จแล้ว ให้คลิกที่“เพิ่มรายการที่เลือก”




เมื่อทําการเลือกภาพแล้ว ภาพดังกล่าวจะเข้ามาอยูในแบบร ่ ่างบทความ ดังรูป เสร็จแล้วพิมพ์รายละเอียดลง ไปแล้วคลิก เมนู เพื่อทําการ“บันทึก” บทความความ และเผยแพร่ บทความ



เมื่อกดบันทึกแล้ว จะเข้ามาสู่หน้าจอ รายการที่แสดงถึงบทความที่เราสร้างขึ้นเมื่อครู่ ถ้าหากเราต้องการ สร้างบทความเพิ่ม ให้คลิกที่เมนูสร้างบทความใหม่



ถ้าในบทความของเรา ต้องการเผยแพร่ผลงานวีดิโอจาก Youtube ให้เราคลิกที่ไอคอน แทรกวีดิโอ



ทําการเลือกวีดิโอจาก Youtube ซึ่งถ้าในกรณีที่เรามีคลิปในบัญชียูทูบของเราอยู่แล้ว ให้คลิกเลือกเมนู วีดิโอ  Youtube ของฉัน แต่ถ้าเราจะเอาคลิป Youtube จากแหล่งบัญชีอื่น ให้คลิกเมนูจาก Youtube แล้วเสริ์ชหาเอา นะคะ



เมื่อทําการแทรกวีดิโอจาก Youtube แล้ว วีดิโอ ดังกล่าวจะเข้ามาอยูในแบบร่างบทความ ดังรูป



เสร็จแล้วทําการ กดบันทึก และ คลิกไปที่ เมนู แสดงตัวอยาง ก็จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ



เพียงขั้นตอนง่ายแค่นี้เราก็จะได้บล็อกส่วนไว้ใช้แล้วค่ะ ^^


blogger Part 1 เริ่มต้น


https://www.youtube.com/watch?v=h_nfYu3lz_g


blogger Part 2 การใส่ Template



https://www.youtube.com/watch?v=1Fy1Nudvhfc



blogger Part 3 เพิ่ม Facebook Page Plugin


https://www.youtube.com/watch?v=IhjkUuTSzyY


Blogger Part 4 การใช้งานเทมเพลตของบล็อกเกอร์

https://www.youtube.com/watch?v=00xC0SitN-s



blogger Part 5 การจัดการบทความ เพิ่มลิงค์เพิ่มปุ่ม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


https://www.youtube.com/watch?v=bicfcxi-bDU


blogger Part 6 วิธีใส่ภาพ favicon เปลี่ยนภาพ title ให้กับ Blogger


https://www.youtube.com/watch?v=ebtdbFXf33g






วิธีการใช้ Blog from Roongrusamee Sonjai
https://www.slideshare.net/roongrusameesonjai/blog-13516733